วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เคล็ดลับ เสริมความฉลาดให้ลูกรัก

                        ลูกรักของคุณเข้ากับสังคมภายนอกได้มากน้อยแค่ไหน การที่เด็กสามารถเข้ากับสังคมภานอกได้ทำให้เค้าได้ปรับตัว เสริมสร้างทักษะทางสังคมให้ลูกน้อยได้ง่ายๆ นอกจากจะช่วยในเื่รื่องสุขภาพจิตที่ดีขึ้นมีไอคิวก็ต้องมีอีคิวที่สูงด้วย
                        ใครๆอยากให้ลูกน้อยของเราเป็นเด็กฉลาด น่ารักเลี้ยงๆง่าย และที่สำคัญถ้ามีสุขภาพที่ดี พร้อมกับสุขภาพจิตร่าเริง ไม่ยาก เราสามารถส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมให้ลูกได้ตั้งแต่เริ่มตื่นจนกระทั่งนอนหลับ ด้วยการเสริมเข้าไปในกิจวัตรประจำวันของลูก









ยิ้มไปกับลูก : ยิ้มให้ลูกเมื่อลูกยิ้มหรือหัวเราะเวลาที่เล่นกับเขา การทำแบบนี้จะช่วยให้ลูกกล้าแสดงความรู้สึกของตัวเอง และกล้าตอบสนองความรู้สึกคนอื่นด้วย

อย่าเพิ่งขัดใจ : ไม่ว่าลูกอยากทำอะไรก็อย่าเพิ่งขัดใจเขาค่ะ เพราะลูกยังต้องการการตอบสนองในทางบวกจากพ่อแม่หรือคนใกล้ชิด โดยเฉพาะช่วงวัย 6 – 11 เดือน ลูกสามารถแสดงออกถึงความพึงพอใจได้บ้างแล้ว หากเราตอบสนองความต้องการของลูก เขาก็จะมีความมั่นใจกับสิ่งที่ทำมากขึ้น

พูดคุยกับลูกเป็นประจำ : หรือชี้ชวนให้ลูกดูสิ่งรอบๆ ตัว แล้วใช้วิธีถาม – ตอบจากสิ่งที่เห็น เป็นการฝึกให้ลูกรู้จักตั้งคำถามและหาคำตอบไปพร้อมกัน ซึ่งสิ่งต่างๆ รอบตัว ทั้งคน สัตว์ สิ่งของ รวมทั้งบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมต่างๆ ล้วนเป็นสังคมของลูก หากฝึกให้เขาใส่ใจกับสิ่งเหล่านี้จะเป็นการปูพื้นฐานทักษะทางสังคมได้ดี

ไม่ยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง : เด็กบางคนอาจติดตุ๊กตา ของเล่น หรือผ้าห่ม พ่อแม่จึงควรให้ลูกได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย เช่น หาอุปกรณ์หรือของเล่นใหม่ๆ มาให้เขา เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา

ให้เล่นกับเพื่อนที่หลากหลาย : การเล่นกับเพื่อนต่างวัย ต่างเพศ หรือต่างสถานะทางสังคม จะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้การปรับตัวเข้าสังคมได้ดี

เที่ยว + เล่นนอกบ้าน : การพาลูกไปสวนสาธารณะหรือสนามเด็กเล่น จะทำให้ลูกได้ทำกิจกรรมและเล่นกับเพื่อนที่หลากหลาย ซึ่งเป็นการจำลองสังคมย่อยๆ ให้ลูกได้เรียนรู้และปรับตัวในสถานการณ์ต่างๆ ที่เล่นกับเพื่อน

ทดลองทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง : เปิดโอกาสให้ลูกทำกิจกรรมที่มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ เช่น เวลาไปซื้อของก็ให้ลูกได้เลือกของเอง ได้คุยกับพ่อค้าแม่ค้า ถือของหรือรับตังค์ทอนเองบ้าง

เปิดโอกาสให้ลูกต่อรอง : หากลูกอยากได้ของเล่นแต่เราไม่อยากซื้อให้ ก่อนที่จะดุหรือตัดรอนลูกก็ลองเปลี่ยนมาให้เขาลองต่อรองกับเราว่าทำไมถึงอยากได้ โดยเฉพาะเด็กวัย 3-6 ปี จะรู้จักต่อรองเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ วิธีนี้จะช่วยให้ลูกรู้จักใช้เหตุผลและฝึกการใช้ภาษา ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ดีในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม

เห็นมั้ยครับว่าเราสามารถเสริมทักษะทางสังคมให้เจ้าตัวน้อยได้ไม่ยาก แค่ให้เขามีกิจวัตรประจำวันที่ทำร่วมกับคนอื่นตั้งแต่ตื่นจนกระทั่งนอนหลับ แม้จะเป็นกิจกรรมที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย แต่สิ่งเหล่านี้ก็คือการสร้างพื้นฐานทักษะทางสังคมที่ดีให้ลูกครับ

ที่มาจาก : 108health

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

พริกขี้หนูสด ลดการเสี่ยงโรคหัวใจ

article

                      โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุของการตายเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย และหลายประเทศทั่วโลกโดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม เช่น การกินอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน อาการทอด ผัดที่ใช้น้ำมันมากๆ ฯลฯ แต่กินอาหารพวกผัก ผลไม้ ธัญพืช ที่มีเส้นใยน้อยเกินไป
                      ทั้งนี้รายงานการวิจัยพบว่าอาหารไทยเป็นอาหารสุขภาพ เพราะให้พลังงานและสารอาหารครบถ้วนและเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบของสมุนไพรต่างๆ ซึ่งมีผลการศึกษาว่าสามารถช่วยลดการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ได้ เช่น การลดไขมันในเลือด ป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพริกซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารไทยที่ช่วยเพิ่มลดชาติร้อนแรง ส่วนประกอบที่สำคัญที่ทำให้เกิดความเผ็ดของพริกก็คือ “ แคปไซซิน ” ซึ่งนอกจากจะให้ความเผ็ดร้อนแล้วยังมีคุณสมบัติทางเภสัชวิทยา ช่วยบรรเทาให้อาการปวดกล้ามเนื้อและข้อ เพิ่มการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร และที่น่าสนใจคือผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ยังพบว่าคนไทยที่กินพริกเป็นประจำมีอุบัติการณ์เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดน้อยกว่าคนในประเทศทางตะวันตก
                     ด้วยเหตุนี้นางสาวพัชราณี ไชยทา นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาโภชนศาสตร์ (ซึ่งเป็นหลักสูตรร่วมระหว่างคณะแพทศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล) ได้ทำวิทยานิพนธ์ เรื่อง “ ผลของพริกขี้หนูต่อปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด” ภายใต้การดูแลของ ศ.นพ. สุรัตน์ โคมินทร์ หัวหน้าฝ่ายโภชนวิทยาและชีวเคมีทางการแพทย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์
วิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ได้ทำการศึกษาหญิงไทยจำนวน 50 คน ที่มีคุณสมบัติดังนี้คือ ระดับไขมันในเลือดสูง แต่มีสุขภาพโดยทั่วไปดี อายุระหว่าง 45 – 64 ปี และหมดประจำเดือนแล้ว แต่ไม่มีอาการของโรคเรื้อรังใดๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคตับ โรคไตโรคกระเพาะอาหาร ไม่ได้รับประทานยาเป็นประจำ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า ไม่ดื่มกาแฟมากกว่า 2 แก้วต่อวัน และไม่กินพริกมากกว่า 10 กรัมต่อวัน จากการศึกษาหญิงกลุ่มนี้พบว่าระยะการกินพริกขี้หนูมีผลดีต่อปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ การลดระดับน้ำตาลกลูโคส เพิ่มอัตราเผาผลาญของร่างกาย มีแนวโน้มชะลอแรจับกลุ่มของเกล็ดเลือด และเพิ่มการละลายลิ่มเลือดโดยมีผลภายใน 30 นาทีหลังจากาการกินพริกขี้หนูสด
                   จึงนับว่าคนไทยโชคดีแล้วที่อาหารส่วนใหญ่อุดมไปด้วยพริก...แต่ควรกินแต่พอประมาณโดยเฉพาะคนที่เป็นโรคกระเพาะลำไส้


ข้อมูลจาก       drug2home